ประวัติความเป็นมา
ชุมชนหมู่บ้านพระบาทสี่ร้อยเป็นชุมชนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ โดยรอบบริเวณวัดพระพุทธบาทสี่รอย ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง ป่าไม้มีลักษณะเป็นป่าดงดิบมีความอุดมสมบูรณ์ ในป่าพบว่ามีพืชพรรณ และสัตว์ป่าอาทิ กล้วยไม้ หมูป่า ถ้ำค้างคาว และในฤดูหนาวยังพบว่ามีนกหลายชนิดที่อพยพหนีหนาวเข้ามาอยู่ชั่วคราวในพื้นที่ การเดินทางใช้เส้นทางมุ่งหน้าทิศเหนือตามถนนโชตนาและถนนเชียงใหม่ 3009 ระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตรจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางเข้ามาตามเส้นทางเข้าตำบลสะลวง ชุมชนบ้านพระพุทธบาทสี่รอยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมทำเกษตรแบบ ผสมผสานด้วยเหตุที่เป็นพื้นที่สูงและอากาศเย็นสม่ำเสมอทั้งปี จึงสามารถปลูกพืชผลไม้เมืองหนาวอาทิ บ้วย ท้อ พลับ สาลี่ พลัมและชาสมุนไพร วัดพระพุทธบาทสี่รอย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมาก เนื่องจากมีรอยพระพุทธบาทซึ่งเชื่อว่าเป็นรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าสี่พระองค์ได้ทรงมาประทับ ซ้อนกันสี่รอยบนแท่นหินใหญ่ ได้แก่
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ เป็นรอยแรกรอยใหญ่ยาว 12 ศอก
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นรอยที่ 3 ยาว 9 ศอก
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ (ศาสนาปัจจุบันนี้) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กสุดยาว 4 ศอก
โดยเชื่อว่าเมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจาริกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มาถึง ณ ที่นี้พร้อมพุทธสาวก ทรงทราบด้วยญาณสมาบัติ ว่าพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ในอดีต กาล 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ , พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ , พระพุทธเจ้ากัสสปะ ได้ทรงประทับรอยพระบาท ไว้แล้้วบนก้อนหินใหญ่บนเขาแห่งนี้และ แม้นว่าพระศรีอริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ี้ จึงทรงเสด็จประทับรอยพระบาทลงซ้อนไว้เป็นรอยที่สี่ เพื่อให้คนทั่วไปได้ประจักษ์ว่าได้ทรงเสด็จเผยแพร่พระศาสนามาถึงที่นี้แล้ว แล้วได้ทรงมีพุทธทำนายไว้ว่าเมื่อทรงนิพพานไปแล้ว 2000 ปีแล้วจะมีคนมาพบและเป็นสถานที่ซึ่งคนทั่วไปมาสักการะบูชาสืบต่อไป
ภูมิปัญญา
  • สาขาเกษตรกรรม ด้วยชุมชนหมู่บ้านพระบาทสี่รอย อยู่บนพื้นที่สูงและอากาศเย็นสม่ำเสมอทั้งปี จึงสามารถปลูกพืชผลไม้เมืองหนาวอาทิ บ้วย ท้อ พลับ สาลี่ พลัม ชาสมุนไพร เมี่ยง อีกทั้งทำเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และไร่นาสวนผสม ในบริเวณที่อยู่อาศัย
  • สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม นอกจากการทำเกษตรแล้ว คนในชุมชนยังรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแปรรูปผลผลิต เช่น บ้วย ชาสมุนไพร เมี่ยง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางหัตถกรรม เช่น การทำลูกประคบสมุนไพร
  • สาขาการแพทย์แผนไทย กลุ่มแม่บ้านในชุมชนหมู่บ้านพระบาทสี่รอย มีกระบวนการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น การนวดแผนโบราณ การประคบสมุนไพร เป็นต้น
  • สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในชุมชนหมู่บ้านพระบาทสี่รอย มีการอนุรักษ์อ่างเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค และการจัดการป่าต้นน้ำ อย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาความสมดุลย์และยั่งยืน
  • สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน ภายในชุมชนมีร้านค้าชุมชน ตั้งอยู่หน้าวัดพระพุทธบาทสี่รอยซึ่งเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายและส่งออกผลิตภัณฑ์ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของชาวบ้านในชุมชนถึงยังผู้บริโภคทั้งในจังหวัด และต่างจังหวัด เช่น ชาสมุนไพร บ้วยดอง และส่งเมี่ยงไปยังประเทศพม่า.
  • สาขาสวัสดิการ -ไม่มี-
  • สาขาศิลปกรรม ภายในวัดพระพุทธบาทสี่รอยมีสิ่งน่าสนใจหลายจุด เช่น พระอุโบสถหลังใหม่ พระวิหารหอเทวดา และมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของที่นี่ คือ รอยพระพุทธบาท หอเทวดาหรือศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป รูปหล่อ และรูปเหมือนของพระเกจิอาจารย์ รวมทั้งรูปปั้นเทพเทวาต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนชาวล้านนาเคารพบูชา และยังมีพระพุทธรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 27 พระองค์ ประทับเรียงเป็นแถวอยู่บริเวณด้านหลังวิหารครอบรอยพระพุทธบาทให้ได้กราบไหว้ นอกจากนั้นยังมี วิหารจตุรมุขทรงมณฑป ที่ขอบกำแพงอุโบสถมีตัวอักษรคำว่า "แฮ้ง 3 ตั๋ว ลงบ้านหนอง 4 แจ่ง แม่ญิงเอาผัว ป้อจายออกลูก” ซึ่งแปลว่า ..... พระอุโบสถหลังใหม่ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2540 - 2549 โดยการนำของเจ้าอาวาสครูบาพรชัย พระอุโบสถเป็นทรงจตุรมุขชั้นเดียว มีลักษณะเป็นงานสถาปัตยกรรมไทยล้านนาประยุกต์ ด้านหน้ามุขจะยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ ส่วนเรือนยอดเป็นยอดปราสาทยกฉัตรโดดเด่นสวยงาม ตัวอาคารประดับประดาด้วยลวดลายวิจิตร ทางเข้าขนาบด้วยปูนปั้นมกรคายนาคทุกด้าน ส่วนพระประทานในอุโบสถอันเป็นหัวใจหลักของอุโบสถพระพุทธบาทสี่รอย มีทั้งหมด 5 องค์ด้วยกัน คือ พระพุทธรังสีอริยเมตไตรย เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย พระพุทธบรมจักรพรรดิตราธิราช เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะประยุกต์ ประดิษฐานเป็นพระองค์ศูนย์กลาง ด้านหน้าพระพุทธรังศรีอริยเมตไตรย พระพุทธไตรรัตนโลกวิภู เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ปางเปิดโลก ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้ายของพระพุทธบรมจักรพรรดิตราธิราช พระพุทธพรชัยนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานอยู่ทางด้านขวาของพระพุทธรูปบรมจักรพรรดิตราธิราช และ พระพุทธประทานพร เป็นพระพุทธรูปอุ้มบาตรประทานพร ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าของพระพุทธบรมจักรพรรดิตราธิราช ซึ่งพระประทานทั้ง 5 องค์ นอกจากจะได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังได้บรรจุเส้นพระเกษาธาตุของครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทยอีกด้วย
  • สาขาการจัดการองค์กร คนในชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการ พัฒนาชุมชนของตนเอง ได้ตามบทบาท เช่น กลุ่มพ่อบ้าน ดูแลเรื่องถนน น้ำ กลุ่มแม่บ้านดูแลเรื่องการจัดการผลผลิต
  • สาขาภาษาและวรรณกรรม การเทศน์ ปัพสา ในลาน หอธรรม
  • สาขาศาสนาและประเพณี เตวขึ้นดอย เลี้ยงผี
  • ลักษณะภูมิประเทศและพืชพรรณสัตว์ป่า

    สภาพบริเวณหมู่บ้านเป็นเทือกเขาสูงป่าดิบ มีความสูงประมาณ 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล ภูุมิอากาศจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณอื่นของตำบลสะลวงดังนั้นจึงจะมีเฉพาะฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน และฤดูหนาวในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคม มีช่วงร้อนสั้นๆในเดือนเมษายน ป่าไม้มีลักษณะเป็นป่าดงดิบมีความอุดมสมบูรณ์ ประมาณร้อยละ 80เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ในป่ายังพบว่ามีพืชพรรณ และสัตว์ป่าอาทิ กล้วยไม้ หมูป่า ถ้ำค้างคาว และในฤดูหนาวยังพบว่ามีนกหลายชนิดที่อพยพหนีหนาวเข้ามาอยู่ชั่วคราวในพื้นที่ ในบางบริเวณสามารถชมทะเลหมอกในช่วงเช้าด้วย

    สถานที่ท่องเที่ยว
    วัดพระพุทธบาทสี่รอย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมาก เนื่องจากมีรอยพระพุทธบาทซึ่งเชื่อว่าเป็นรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าสี่พระองค์ได้ทรงมาประทับ ซ้อนกันสี่รอยบนแท่นหินใหญ่ ได้แก่
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ เป็นรอยแรกรอยใหญ่ยาว 12 ศอก
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นรอยที่ 3 ยาว 9 ศอก
  • รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ (ศาสนาปัจจุบันนี้) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กสุดยาว 4 ศอก

  • โดยเชื่อว่าเมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจาริกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มาถึง ณ ที่นี้พร้อมพุทธสาวก ทรงทราบด้วยญาณสมาบัติ ว่าพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ในอดีต กาล 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ , พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ , พระพุทธเจ้ากัสสปะ ได้ทรงประทับรอยพระบาท ไว้แล้้วบนก้อนหินใหญ่บนเขาแห่งนี้และ แม้นว่าพระศรีอริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ี้ จึงทรงเสด็จประทับรอยพระบาทลงซ้อนไว้เป็นรอยที่สี่ เพื่อให้คนทั่วไปได้ประจักษ์ว่าได้ทรงเสด็จเผยแพร่พระศาสนามาถึงที่นี้แล้ว แล้วได้ทรงมีพุทธทำนายไว้ว่าเมื่อทรงนิพพานไปแล้ว 2000 ปีแล้วจะมีคนมาพบและเป็นสถานที่ซึ่งคนทั่วไปมาสักการะบูชาสืบต่อไป นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าเกี่ยวกับการค้นพบรอยพระพุทธบาทนี้ซึ่งเดิมเรียกว่าพระบาทรังรุง มีบุคลสำคัญในอดีตและปัจจุบันได้มาสักการะ ร้อยพระพุทธบาทนี้อาทิ พระยาเ็ัม็งรายกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่และกษัตริย์ในรุ่นหลังถัดมา อาทิพระยาธรรมราชาช้างเผือก เจ้าดารารัศมี ครูบาศรีวิชัยได้มาสักการะ และทำนุบำรุงสถานที่ศักดิ์สิทธิแห่งนี้ และมีการสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทนี้ไว้ ปัจจุบันยังคงมีนักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปที่ทราบเกี่ยวกับพระพุุทธบาทสี่รอยนี้เดินทางขึ้นไปสักการะ ร้อยพระพุทธบาทอยู่อย่างต่อเนื่องทุกวัน นอกจากนั้นชุมชนยังจัดให้มีประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยเป็นงานประจำปี ในช่วงเดือนมีนาคม เรียกว่าประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย โดยจะมีการตั้งขบวนแห่ ณ วัดหนองก๋ายแลจะมีการเดินขบวนแห่ฆ้อง กลอง เดินขึ้นไปวัดพระพุทธบาทสี่รอย โดยเริ่มเดินตั้งแต่ตอนค่ำเวลา 20.00 น. เป็นต้นไป จนขึ้นถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอยเช้าในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 แล้วก็ประกอบพิธีทำบุญตักบาตร พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ระยะทางที่ใช้ในการแห่ขบวนขึ้นไปยัง วัดพระพุทธบาทสี่รอยรวมทั้งหมดประมาณ 16 กิโลเมตร ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วย ช่อธง พระพุทธรูป อัฐิครูบาศรีวิชัย รูปเหมือนครูบาศรีวิชัย และน้ำสรงพระราชทาน แห่ฆ้อง กลอง พร้อมญาติโยมพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมากร่วมเดินขบวนด้วยกันทุกๆ ปี เดินทางมาทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ และต่างจังหวัด โดยได้รับพระราชทานน้ำสรงรอยพระพุทธบาทสี่รอย จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อน้อมมาสรงรอยพระพุทธบาท ผู้ริเริ่มจัดงานทำบุญประจำปีหรือ ประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยคือ ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ รักษาประเพณีเตียวขึ้นดอย (เดินขึ้นเขา) หรือประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยประจำปี เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยและพุทธศาสนิกชนผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้ประพฤติ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างแนวทางให้ชนรุ่นหลังได้เดินตามแนวทางปฏิบัติสืบต่อไป
     
     

    รูปภาพชุมชนพระพุทธบาทสี่รอย

    Photo 1
    Photo 2
    Photo 3
    Photo 1
    Photo 2
    Photo 3
    Photo 1
    Photo 2
    Photo 3
    Photo 1
    Photo 2
    Photo 3
    Photo 1
    Photo 2
    Photo 3
    พระพุทธบาทสี่รอย ตั้งอยู่บนภูเขาลึก เป็นพื้นที่ป่าดิบชื้น อุดมสมบูรณ์ สถานที่ ซึ่งในอดีตเคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณของชาวพื้นเมืองมาหลายพันปี วัดพระพุทธบาทสี่รอย ตั้งอยู่ ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ อันเป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาท ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ ตามการเล่าขานจากตำนานท้องถิ่น เป็นรอยเท้าพระพุทธเจ้าแห่งแรก (รอยพระพุทธบาท) จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ถูกพบครั้งแรกสมัยพระญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงครองราชย์ เมื่อประมาณเกือบ 800 มาแล้ว วัดพระพุทธบาทสี่รอย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่ ทางด้านเหนือสุด ของกลุ่มอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ถัดจากกลุ่มดอยม่อนแจ่ม เราเดินทางจากเมืองเชียงใหม่ ขึ้นเหนือไปทางอำเภอแม่ริม ตามทางหลวง107 ผ่านสามแยกอำเภอสะเมิงให้ตรงไป จากนั้นเลี้ยวซ้าย ตรง อบต.แม่ริมเหนือ จะเป็นทางแยกทางซ้าย มุ่งสู่วัดพระบาทสี่รอย เมื่อมาถึงจะพบกับซุ้มประตูทางเข้า อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง กำแพงพญานาคเก้าเศียร สิงทองเหลืองอร่าม ปฏิมากรรมภายในวัด สร้างด้วยงานศิลป์มีความวิจิตรงดงาม และใหญ่โตมหึมา บนกำแพงมีภาพสลักลายนูน สร้างด้วยปูนปั้นภาพ 12 นักษัตร เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปด้านใน จะมีซุ้มศาลาสีเขียวคล้ายลำตัวพญานาค ด้านในตกแต่งด้วยภาพพุทธประวัติ ด้านตรงข้ามเป็นลานกว้าง ใช้สำหรับเป็นลานจอดรถ บนกำแพงมีภาพสลักลายนูน สร้างด้วยปูนปั้นภาพ 12 นักษัตร เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปด้านใน จะมีซุ้มศาลาสีเขียวคล้ายลำตัวพญานาค ด้านในตกแต่งด้วยภาพพุทธประวัติ ด้านตรงข้ามเป็นลานกว้าง ใช้สำหรับเป็นลานจอดรถ บริเวณวัดจะเป็นพื้นที่ราบกลางหุบเขา ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของป่า มีสิ่งปลูกสร้างของวัด สถานปฏิบัติธรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้แสวงบุญ มีร้านอาหาร เครื่องดื่ม และของชำร่วย รวมทั้งห้องพักให้เช่าสำหรับนักเดินทาง เมื่อเดินขึ้นมา ตามบันไดทางขึ้นพระพุทธบาทสี่รอย ด้านซ้ายมือ จะพบที่ประดิษฐาน อนุสาวรีย์ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ส่วนบุคคลด้านซ้าย - ขวา ของครูบาฯ คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ สมเด็กพระนเรศวรมหาราช ครูบาศรีวิชัย ท่านได้มีส่วนสำคัญในการสร้างถนน เพื่อขึ้นไปยังวัดพระพุทธบาทได้โดยสะดวก และบูรณะพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทขึ้นมาใหม่ โดยได้ฉาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย เพื่อป้องกันการสึกกร่อน ด้านหลังของวัด เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถวัดพระพุทธบาทสี่รอย เป็นอุโบสถ์ที่มีพุทธศิลป์งดงามมาก มีลวดลายในแบบฉบับล้านนา ทั้งด้านนอก และด้านใน ดูสวยงามและโอ่โถง ภายในอุโบส มีพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรมต่างๆ เป็นรูปพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายองค์ ให้เราชื่นชมและกราบบูชา โดยรอบๆอุโบสถนี้ จะมีลูกนิมิตรให้เราได้ปิดทอง ส่วนกำแพงโบสถ์ จะมีข้อความปริศนาธรรม ให้นักแสวงบุญได้อ่านตีความ เราเดินมาถึงพระวิหาร ครอบพระพุทธบาทสี่รอย จุดที่เป็นที่ตั้งของหิน อันเป็นที่ประทับรอยพระพุทธบาท โดยมีโครงสร้างเป็นหินอ่อนเสริมภายนอก ครอบไว้เป็นพระวิหาร และมีบันไดทางหน้ามุขทั้งสองข้าง เชื่อมกับบันไดกลาง เพื่อขึ้นไปยังรอยพระพุทธบาท ย้อนไปในอดีตกาลอันไกลโพ้น นับได้ 92 กัป ที่ล่วงมาแล้ว ( 1 กัป ในยุคพุทธกาล 1 อายุกัปของมนุษย์ ประมาณ 100 ปี) ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง สมัยนั้นทรงพระนามว่า “พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า” เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ให้ล่วงพ้นวัฏฏสงสาร เฉกเช่นเดียวกับพระสมณโคดมพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันสมัยเรา ในครั้งนั้น บังเกิดมีพระสาวกองค์หนึ่งในพระวิปัสสีพุทธเจ้า มีฐานะเป็นพระสังฆนายก ปกครองพระภิกษุเถรานุเถระเป็นอันมาก แต่พระสังฆนายกองค์นี้ กลับแสวงหาปัจจัยทั้งสี่ อันได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย มากเกินสมควรได้มีคำสั่งออกไปทั่วสังฆมณฑลว่า “วัดของเรานี้ไม่เหมือนวัดอื่นๆ ด้วยเป็นที่ชุมนุมของพระมหาเถระเจ้าทั้งหลายอยู่เป็นเนืองนิตย์ฉะนั้นขอให้พระภิกษุทั้งหลาย จงนำเอาปัจจัยสี่อันเป็นของสงฆ์ทั้งหลาย อันได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย รวมทั้งแก้วแหวนเงินทองทั้งปวงมาให้แก่วัดของเรา เพื่อว่าเราจะได้นำมาถวายทาน แก่พระมหาเถระเจ้าทั้งหลายต่อไป”